อันตรายที่เกิดจากควันเชื่อม

Share it

อันตรายจากควันเชื่อม

อันตรายจากควันเชื่อม

อันตรายที่เกิดจากควันเชื่อม  

“สถาบันความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแห่งชาติ (NIOSH) ระบุว่า มากกว่า 400,000 คน ทั้งชายและหญิงในสหรัฐอเมริกา ถูกว่าจ้างให้ทำงานด้านงานเชื่อมและสายงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจากการสำรวจพบว่า แรงงานเหล่านี้ มีความเสี่ยงที่จะมีปัญหากับระบบทางเดินหายใจที่รุนแรง ระบบทางประสาท และมีผลกระทบกับระบบสืบพันธุ์ โดยข้อมูลเพิ่มเติมจำเป็นต้องมีการประเมินต่อไป”

ในปี 2003 NIOSH ได้ตีพิมพ์เรื่องราวทางด้านวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับผลกระทบของการเชื่อมที่มีต่อสุขภาพ

จากบทความ “ผลกระทบของการเชื่อมที่มีต่อสุขภาพ”  การเก็บข้อมูลที่ผ่านมาจะพบอาการของ หลอดลมอักเสบ การระคายเคืองทางเดินหายใจ และยังมีโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจอื่นอีกจำนวนมากที่เกิดกับช่างเชื่อม

อย่างไรก็ตามความแตกต่างที่ยากและสำคัญระหว่าง การศึกษากับข้อมูลที่มีน้อย ทำให้ยากที่จะเปรียบเทียบผลแล้วเชื่อมโยงถึงที่มีผลกระทบที่ได้รับ

ข้อมูลเพิ่มเติม

จากบทความ ยังตั้งข้อสังเกตได้ว่า บางการศึกษาวิจัย บอกว่า ควันเชื่อม อาจทำให้เกิดความเสี่ยง ในการเป็นโรคมะเร็งปอด และยังมีผลไปทำลายระบบประสาท เพราะเนื่องจาก ควันเชื่อมอาจมีส่วนผสมของ นิกเกิล โครเมียม และแมงกานีส ผสมอยู่  ซึ่งนิกเกิลและ โครเมียมนั้น นั้นจัดเป็น สารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง เมื่อได้รับในขณะทำงาน ในขณะเดียวกัน ผลการศึกษายังบอกว่าการสัมผัสหรือได้รับ แมงกานีส นานๆนั้นมีความเสี่ยงที่ทำให้เกิดเป็นโรค Parkinson อีกด้วย  แต่เนื่อหาใน NIOSH ยังขาดข้อมูลสนับสนุนที่ว่า

(1) การกำหนดว่า ช่างเชื่อมสัมผัสหรือได้รับสารเคมีหรือควันเชื่อมในปริมาณเท่าไรจึงจะมีผลกระทบดังกล่าว

(2) วิธีการที่ได้รับสารเคมีเหล่านั้นและปริมาณที่ได้รับอาจนำไปสู่ปัญหาที่รุนแรงและส่งผลกระทบกับร่างกายในระยะยาว

NIOSH แนะนำ 2 หัวข้อ ที่มีการวิจัยไว้อย่างสมบูรณ์ เพื่อเติมช่องว่างเหล่านั้น

  • จากการศึกษาอย่างต่อเนื่องทางระบาดวิทยานั้น ได้มีความรู้ความเข้าใจว่าควันเชื่อมส่งผลกระทบต่อ ภูมิคุ้มกัน การเกิดมะเร็งปอด พิษต่อระบบประสาท การทำลายผิว ความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ และผลกระทบ อื่น ๆ
  • การศึกษา พิษวิทยาโดยใช้เทคนิคทันสมัยในการตรวจสอบ ปฏิกิริยาทางชีวเคมีเมื่อได้รับหรือสัมผัสควันเชื่อมในระดับโมเลกุลในการทดลองในห้องปฏิบัติการ ซึ่งข้อมูลดังกล่าว นักวิทยาศาสตร์จะได้รับความเข้าใจที่ดีขึ้นในวิธีการที่ ละเอียดอ่อน ถึงการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมและเนื้อเยื้อ รวมถึงอาจนำไปสู่การก่อให้เกิดเนื้องอก เส้นประสาทความเสียหาย หรือการเปลี่ยนแปลง ที่ไม่พึงประสงค์ อื่น ๆ ในเนื้อเยื่อ และอวัยวะ

The American Federation of State, County, and Municipal Employees (AFSCME) มีข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับอันตรายจากการเชื่อม ซึ่งกล่าวถึงรายละเอียดปัญหาด้านสุขภาพและความปลอดภัย ที่เกี่ยวข้องกับการ เชื่อม การเชื่อมประสาน บัดกรี และ การตัดโลหะ ตามเนื่อหาควันเชื่อมมีส่วนผสมของอนุภาคที่เล็กมากๆ มีก๊าซที่มีสารเคมีปนอยู่หลายชนิด เช่น โครเมียม นิกเกิล สารหนู แร่ใยหิน แมงกานีส ซิลิกา เบริลเลียม แคดเมียม ไนโตรเจนออกไซด์  ฟอสจีน  สารประกอบ ฟลูออรีน คาร์บอนมอนอกไซด์  โคบอลต์  ทองแดง ตะกั่ว โอโซน ซีลีเนียมและ สังกะสี ซึ่งเป็นพิษมากกับผู้ที่ได้รับควันเชื่อม

ช่างเชื่อมที่สูบบุหรี่อาจมีความเสี่ยงที่สุขภาพภาพจะเสื่อมโทรมมากกว่าช่างเชื่อมที่ไม่สูบบุหรี่

ผลกระทบระยะสั้น

ผลกระทบระยะสั้นเมื่อได้รับไอโลหะจะทำให้เป็นไข้ ซึ่งอาการเหล่านี้จะเกิดหลัง 4-12 ชั่วโมงเมื่อได้รับไอโลหะนั้นซึ่งอาการดังกล่าวจะรวมถึงอาการ หนาวสั่น กระหายน้ำ มีไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เจ็บหน้าอก  ไอ หอบ อ่อนเพลีย คลื่นไส้และมีอาการขมคอเหมือนมีรสโลหะในลำคอ นอกจากนี้ควันเชื่อมยังทำให้เกิดการระคายเคืองตา จมูก ระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิด อาการไอ หอบ หายใจถี่ ทำให้เป็น หลอดลมอักเสบ ปอดบวม ปอดอักเสบ (มีของเหลวในปอด)

ควันเชื่อมยังมีผลกระทบกับ ระบบทางเดินอาหารทำให้เกิดอาการ คลื่นไส้ เบื่ออาหาร อาเจียน ระบบย่อยอาหารแย่ลง

การเชื่อมบางขบวนการจะมีสารบางตัวที่เป็นอันตรายร้ายแรงภายในช่วงเวลาสั้น ๆ อย่างเช่น การได้รับสารแคดเมียมสามารถทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ในระยะเวลาอันสั้น

รังสีอัลตราไวโอเลตที่เกิดจากปฏิกิริยาการเชื่อมร่วมกับก๊าซออกซิเจนและไนโตรเจนในอากาศจะทำให้เกิดเป็นก๊าซโอโซนและไนโตรเจนออกไซด์ซึ่งเป็นอันตรายถึงตายได้ เมื่อไดรับในปริมาณที่สูงทำให้ระคายเคืองจมูก และคอ ก่อให้เกิดโรคปอดร้ายแรง

รังสีอัลตราไวโอเลตสามารถทำปฏิกิริยากับ ตัวทำละลายไฮโดรคาร์บอนคลอรีน(ไฮโดรคาร์บอนที่มีองค์ประกอบของคลอรีนอยู่) เช่น สาร Trichlorethylene หรือ1,1,1-Trichloroethane(เป็นสารละลายที่ใช้ในการล้างชิ้นงานโลหะ) เมทิลีน คลอไรด์(ใช้เป็นตัวทำละลาย สี ทำน้ำยาทำความสะอาด) และ Perchlorethylene (ใช้เป็นสารทำความสะอาด) ทั้งหมดนี้จะทำให้เกิด ก๊าซฟอสจีน ซึ่งเป็นสารอันตรายร้ายแรง แม้จะได้รับในปริมาณน้อยก็ตาม เมื่อได้รับจะทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ หนาวสั่น และไอ ภายในเวลา 5 หรือ 6 ชั่วโมง ดังนั้นการภายในรัศมี 200ฟุตของการล้างชิ้นงานจากคราบน้ำมันหรือการใช้ตัวทำละลาย เราไม่ควรทำการเชื่อมเชื่อมอาร์คเป็นอย่างยิ่ง

ผลกระทบระยะยาว

จากการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ช่างเชื่อมและผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องในงานเชื่อมประสาน งานบัดกรีและงานตัดโลหะ มีความความเสี่ยงเพิ่มขึ้นไปอีกที่จะเป็นโรคมะเร็งปอดและเป็นไปได้ที่จะเป็นมะเร็งกล่องเสียง และมะเร็งท่อปัสสาวะ ซึ่งในเนื่อหาของ AFSCME บอกว่าผลการวิจัยเหล่านี้ดูไม่น่าแปลกใจเลย เพราะเมื่อมองถึงสารพิษจำนวนมากที่มีอยู่ในควันเชื่อม รวมถึงสารก่อมะเร็ง เช่น แคดเมียม นิกเกิล เบริลเลียม โครเมียม และ สารหนู

นอกจากนี้ช่างเชื่อมยังอาจมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจเรื้อรังเช่น โรคหลอดลมอักเสบ โรคหอบหืด โรคปอดอักเสบ ถุงลมโป่งพอง โรค Pneumoconiosis (ซึ่งเป็นโรคปอดอักเสบที่เกิดจากการหายใจเอาฝุ่นอนุภาคเล็กเข้าไป) โรค Silicosis (เกิดจากการสัมผัสกับสารซิลิกา) และ โรค Siderosis (เป็นโรคที่เกิดจากการสูดฝุ่นละอองเป็นฝุ่นเหล็กออกไซด์เข้าไปในปอด)

ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นจากการเชื่อม ได้แก่ หัวใจ โรคผิวหนัง สูญเสียการได้ยิน โรคกระเพาะเรื้อรัง (โรคกระเพาะอาหารอักเสบ) ทางเดินอาหารการอักเสบ (กระเพาะอาหารและ ลำไส้เล็ก อักเสบ) และเป็นแผลลำไส้เล็ก

การเชื่อมยังก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะมีปัญหาของระบบสืบพันธุ์ จากการศึกษาพบว่าช่างเชื่อม โดยเฉพาะช่างเชื่อมที่เชื่อม สแตนเลส สเปิร์มจะอ่อนแอกว่าช่างเชื่อมอื่นๆ และยังพบว่ามีอัตราการแท้งบุตรมากขึ้นในหมู่ช่างเชื่อมและคู่สมรส ช่างเชื่อมหรือช่างตัดโลหะที่เคลือบผิวกลด้วยฉนวนใยหิน มีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งปอดจากแร่ใยหิน และโรคที่เกิดจากแร่ใยหินอื่นๆ ซึ่งพนักงานควรได้รับการอบรมและให้มีอุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสมก่อนที่จะทำการเชื่อมในบริเวณที่มีแร่ใยหินและความเสี่ยงจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อช่างเชื่อมเชื่อมงานในที่ที่อับอากาศ

ทำให้เกิดโรคพาร์กินสัน

แม้จะไม่ได้กล่าวถึงใน AFSCME เกี่ยวกับเรื่องนี้ การวิจัยที่ผ่านมาล่าสุดได้แสดงให้เห็นว่าควันเชื่อมเกี่ยวข้องกับโรคพาร์กินสันหรือโรคระบบทางประสาทที่ผลต่อความสามารถทางร่างกายและจิตใจ  เครือข่ายรณรงค์สุขภาพของช่างเชื่อมได้กล่าวว่าอาจจะเป็นไปได้ที่เมื่อเกิดความบกพร่องทางพันธุกรรมแล้วมีโอกาสที่จะพัฒนาเป็นโรคพาร์กินสัน โดยแพทย์ส่วนใหญ่เชื่อว่าปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมมีส่วนเกี่ยวข้องทำให้เกิดโรคขึ้น ซึ่งจะเกิดกับช่างเชื่อมที่เชื่อมงานกับแมงกานีส อาการบางอย่างของโรคพาร์กินสัน (มาจากการสัมผัสแมงกานีส) รวมถึงอาการสั่น และการเคลื่อนไหวช้าลง กล้ามเนื้อเกรงแขนและขาตึง พูดตะกุกตะกัก  25%ของอาการที่พบบ่อยที่สุดคืออาการสั่น ผู้ป่วยบางรายการสูญเสียสมดุลขณะเดินและรองลงมาจะเป็นอาการซึมเศร้า นอนไม่หลับ เวียนศีรษะ ท้องผูก ภาวะสมองเสื่อม และปัญหาเกี่ยวกับการพูด การหายใจ การกลืนอาหาร และยังมีผลขณะการมีเพศสัมพันธ์ และปริมาณแมงกานีสที่อยู่ในระดับสูงยังทำให้ ความจำลดลงจนถึงขนาดสูญเสียความทรงจำเลย และยังทำให้ความสามารถในการขับขี่รถยนต์ลดลงอีกด้วย

การลดอันตราย

AFSCME กล่าวว่าก่อนที่จะเริ่มทำการเชื่อม ให้ระบุอันตรายที่เกิดจากงานเชื่อมไว้ในคู่มือปฏิบัติงานเชื่อม โดยบอกถึงอันตรายที่จะขึ้นจากชนิดของการเชื่อมในแต่ละวัสดุ (หมายถึงโลหะที่เราเชื่อม วัสดุหรือสารที่เคลือบผิวและลวดเชื่อม) รวมถึงบริเวณที่เราเชื่อมด้วยว่าเป็นพื้นที่เปิดหรือปิดหรือเป็นสถานที่อับอากาศ ต้องมีเอกสารข้อมูลความปลอดภัยของวัสดุ (MSDS) เพื่อระบุว่าวัตถุอันตรายที่ใช้ในการเชื่อม ตัดและอันตรายของควันที่เกิดขึ้น เพื่อให้แน่ใจว่าช่างเชื่อมได้รู้ถึงอันตรายกับสิ่งที่เขากำลังเชื่อมอยู่ก่อนที่จะเริ่มทำการเชื่อม เช่น  ควันเชื่อมที่เกิดจากการเชื่อมชิ้นงานที่ผิวชุบแคดเมียมอาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ในเวลาอันสั้น หลังจากระบุอันตรายแล้วจะต้องปฏิบัติและควบคุมอย่างเคร่งครัด

หาวัสดุทดแทนที่เป็นอันตรายน้อยลง  โดยใช้วัสดุที่ไม่มีแคดเมียมผสมอยู่ ลวดเชื่อม ถุงมือและแผ่นกันความร้อนที่ไม่มีแร่ใยหิน

จัดให้มีการระบายอากาศที่เพียงพอ ติดตั้งระบบระบายอากาศให้เพียงพอ ซึ่งจะช่วยดูดควันและก๊าซออกไป  ซึ่่งจะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด และใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่เช่น หน้ากาก ป้องกันและควรทำความสะอาดและบำรุงรักษาระบบ การระบายอากาศอย่างสม่ำเสมอ สำหรับการเชื่อมอาร์ค การติดตั้งตัวระบายอากาศสามารถทำได้โดยจัดทำหัวดูดควันหรือเครื่องดูดควัน ซึ่งจะทำให้ลดการรับสารพิษจากควันเชื่อมที่ช่างจะได้ถึง 70%  โดยวัสดุที่ใช้ทำระบบระบาย/ระบบดูดควรทำมาจากวัสดุกันไฟ

การระบายอากาศทั่วไปอาจทำเป็น ช่องระบายอากาศที่หลังคา เปิดประตูและหน้าต่าง ติดพัดลมที่หลังคา เพื่อให้อากาศถ่ายเทพื้นที่ทำงานทั้งหมด วิธีการเหล่านี้จะไม่ได้ผลเลยหากพื้นที่ทำงานยัง มีการแพร่กระจายของสารเคมีต่างๆ อย่างไรก็ตาม การระบายอากาศจะเป็นประโยชน์เมื่อนำมาใช้เพื่อเสริมการระบายอากาศในพื้นที่ทำงานเชื่อมที่มีพื้นที่ปิด พื้นที่จำกัด รวมถึงการเชื่อมในที่อับอากาศ

ที่มา  http://www.thefabricator.com/article/safety/welding-fume-health-hazards

บทความอื่นๆ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว บันทึกการตั้งค่า